วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)


การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)

ในการออกแบบหลักสูตรนั้น  สิ่งที่สำคัญประการหนึ่ง คือการออกแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน  มีความต้องการการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้  วิธีการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของสังคม  อย่างไรก็ดี  ในการออกแบบหลักสูตร จะต้องตั้งอยู่บนฐานของความพอดี  มีความเป็นไปได้เสมอ
            การออกแบบหลักสูตรต้องพัฒนาคนให้รอบด้าน  จะเห็นได้ว่า สังคมในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  สิ่งที่เราจะต้องสร้าง คือการปลูกฝังผู้เรียนให้มีความรู้รอบด้าน  ให้เขาเหล่านั้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  โดยอาศัยทักษะที่ได้รับจากการปลูกฝังระหว่างการเรียนรู้
«  เสาหลัก 4 ประการแห่งการศึกษา เป็นหลักสำคัญ 4 ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่21 ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within  ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. 1995 ว่า การศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย
-                   เสาหลักการศึกษาประการแรก คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ (Learning to Know) ได้แก่การเรียนเพื่อรู้
-                   เสาหลักการศึกษาประการที่ 2 คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ (Learning to do) ได้แก่เรียนเพื่อทำได้
-                   เสาหลักการศึกษาประการที่ 3 คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ (Learning to live together) 
            ได้แก่ การใช้ความรู้ความสามารถเพื่อสังคมส่วนรวม
-                   เสาหลักการศึกษาประการที่ 4 คือ  การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษยภาพ (Learning to be) ได้แก่การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

« ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 (3R 7C)
3R  ได้แก่  Reading (อ่านออก), 'Riting (เขียนได้) ,'Rithmetics (คิดเลขเป็น)
และเพิ่มเติมจาก อ. ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ :  Relevancy (ความสอดคล้อง)  Relationship (สัมพันธภาพ)    และ Rigor (ความเคร่งครัด)

7C ได้แก่
            1.  Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา)     
2.  Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
            3.  Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
            4.  Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
            5.  Communications, information & media literacy(ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
            6.  Computing & ICT literacy  (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
            7.  Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

ทฤษฎีในการออกแบบหลักสูตร 7 ประการ
1.             Challenge and enjoyment  หลักสูตรต้องมีการท้าทายความสามารถและมีความสนุกสนานเพลิดเพลินประกอบด้วย
2.            Breath  หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถกว้างมากขึ้น
3.            Progression  หลักสูตรต้องสามารถต่อยอดความรู้ของผู้เรียน และมุ่งสู่ความสำเร็จ
4.            Depth  หลักสูตรต้องมีเนื้อหาที่ลุ่มลึก  เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาอย่างจริงจัง และลึกซึ้ง
5.            Personalization and choice หลักสูตรจะต้องตระหนักถึงคุณค่าของความแตกต่างผู้เรียน  และมีการเสริมสร้างหนทางสู่อาชีพ
6.            Coherence หลักสูตรจะต้องมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงให้ชัดเจน
7.            Revelance สามารถนำไปบูรณาการกับชีวิตจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น