วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)


กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องคำนึงควรยึดหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) คือ
1.      ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน 
2.      การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3.      บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน กิจกรรม/ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม 

กลุ่มทฤษฏีการเรียนรู้
ลักษณะของทฤษฎีการเรียนรู้
หลักสูตร/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Behaviorism
รู้จักทั่วไปในทฤษฎี S-R ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากพฤติกรรมที่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า  และสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์  ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
การเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วย เหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
Cognitivism
เป็นกลุ่มที่อาศัยการใช้เหตุผล  เป็นเครื่องมือในการอธิบายปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้ว  เพื่อจะได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย
วิธีสอน วัสดุ/สื่อการสอน และ สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ มีความสอดคล้องกับรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดเป็นรูปภาพ จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อผู้สอนใช้สื่อการสอนที่มีภาพประกอบ หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบอิสระ จะเรียนรู้ได้ดี ในกิจกรรม การเรียนที่มีการค้นคว้าด้วยตนเอง หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ก็จะเรียนรู้ได้ดีในกิจกรรมการเรียนที่มีส่วนร่วม มีการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น

Humanism
ในกลุ่มนี้จะเน้นความเป็นคนของคน  เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความดี  และมีอิสระที่สามารถนำตนเอง  พึ่งตนเอง  และทำประโยชน์ในสังคม  ดังนั้นการจัดการเรียนคือ การสอนที่เด็กเป็นศูนย์กลาง  ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ  และผู้สอนจำเป็นต้องกระตุ้นและจัดบรรยากาศการเรียนรู้  เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน
     มองถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน โดยหลีกเลี่ยงหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้ง (Child-Centered)
Constructivism
เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  เชื่อว่าโครงสร้างทางปัญญาเป็นผลของความพยายามทางความคิด (Mental effort) ดังนั้น ผู้เรียนจะได้รับการกระตุ้นให้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  มีการเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยภายใน (ปัญญานิยม) และปัจจัยภายนอก (พฤติกรรมนิยม)  ผู้เรียนต้องมีคุณธรรมและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
     .      กิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความ กระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Cognitive_Style.htm
http://pnru3math53.blogspot.com/2012/09/123-humanism.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น