พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา
และด้านสังคม
(Social Foundation of Curriculum)
ประเด็น
|
Essentialism
|
Parennialism
|
Reconstructionism
|
Existentialism
|
สัจจะ
|
กฎธรรมชาติ กฎศีลธรรม จรรยา
และมรดกวิทยาการ
|
แบบ + สสาร =
ความจริง
|
ประสบการณ์ มวลมนุษยชาติ
ทั้งระดับชาติและระดับโลก
|
การดำรงอยู่ของมนุษย์คือความจริง
มนุษย์ต้องค้นหาตนเองให้พบ
|
มนุษย์
|
เกิดมาพร้อมความเลว
|
เกิดมาเป็นสสาร แต่มีแบบพิเศษคือคิดเป็น
|
เกิดมาพร้อมความสามารถ จะเป็นอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการสังคมประกิต
|
เป็นผลผลิตของสิ่งที่ตนเลือกตัดสินใจกระทำ มีเสรีภาพเต็มที่
|
แหล่งความรู้
|
ได้มาด้วยวิธีใช้เหตุและผล
|
การใช้เหตุผลเชิงตรรกวิทยา ตำรา “อมตะวิทยา”
|
ประสบการณ์โดยตรงและประสบการณ์คาดคะเน
|
ขึ้นกับการเลือกของแต่ละคน
|
จุดมุ่งหมายการศึกษา
|
ถ่ายทอดมรดก วัฒนธรรม และพัฒนา
วิทยา จรรยา ปัญญา
|
อนุรักษ์ความดีงาม
ภูมิปัญญาของบรรพชน มุ่งศาสนา
|
สร้างสังคมประชาธิปไตยในอุดมคติ
|
พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
รู้จดใช้เสรีภาพด้วยแบบรับผิดชอบ
|
หลักสูตร
|
วิชาสามัญ เช่น ภาษา เลขคณิต
วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์
|
อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
และศิลปศาสตร์
|
ประถมศึกษา ความรู้พื้นฐาน มัธยมศึกษา
ความสำคัญของการร่วมมือทำให้สังคมดีขึ้น
อุดมศึกษา ผู้นำแก้ไข ปรับปรุงสังคม
|
-
|
วิธีสอน
|
บรรยายเพื่อถ่ายทอดข้อเท็จจริง อภิปรายเพื่อความกระจ่างและฝึกให้คิด
|
เน้นการใช้เหตุผลเชิงตรรกวิทยา ขยันหมั่นเพียร และฝึกฝนวิทยาการ
|
วิเคราะห์ปัญหาทางสังคม
ฝึกใช้วิธีแก้ที่วางแผนไว้อย่างดี
|
วิเคราะห์ความรู้สึกของตนเอง ประเมิน และตัดสินใจจากผลการเลือกของตนเอง
|
นักเรียนในอุดมคติ
|
มีเหตุผล มีความรู้
และทักษะที่เป็นแก่นสำคัญของวิชาสามัญต่างๆ
|
ใช้เหตุผลตามหลักการจิตใจสูงกว่าสภาพตามธรรมชาติเยี่ยงสัตว์โลก
|
ต่อต้านสังคม
ต้องการเปลี่ยนสังคมไปในทางที่ดีและสร้างสรรค์
|
แสวงหาความหมายของการดำรงอยู่ของตน รู้จักใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบ
|
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
1.
ทฤษฎีการเรียนรู้จิตวิทยา
ความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยานั้น
เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นที่ต้องได้รับการวิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในแง่ของผู้เรียน (Learner) ซึ่งจะทำให้รู้ว่า
เด็กแต่ละวัย มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเป็นไปในทิศทางใด สิ่งที่มีอิทธิผลต่อการเรียนรู้
ความสนใจในการเรียนรู้เป็นอย่างไรผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีความเหมาะสม ถือได้ว่า ในการพัฒนาหลักสูตร ความรู้ด้านจิตวิทยานั้นจะมองข้ามไม่ได้ สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้จิตวิทยานั้นแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism Theories) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
(Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism Theory) และ
ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory)
2.
องค์ประกอบของการพัฒนาการของมนุษย์
2.1 วุฒิภาวะ (Maturity): เป็นกระวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายที่ทำให้เกิดความพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้น โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ใดๆ
หรือเป็นไปโดยธรรมชาติ เช่น
การเริ่มพูดของเด็กเล็กๆ เป็นต้น
มีการพัฒนาไปตามลำดับ
2.2 การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นด้วยการจงใจ
หรือไม่ตั้งใจ เช่น การคิดคำนวณเป็นการเรียนรู้แบบจงใจ
และการเล่นฟุตบอลทำให้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องความสามัคคีซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบไม่ได้ตั้งใจ
3.
กฎของความเจริญเติบโตและพัฒนาการ (Principles of Growth and Development)
3.1 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
3.2 พัฒนาการเริ่มต้นจากการตอบสนองทั่วๆ ไปก่อนการตอบสนองเฉพาะ
3.3 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการดำเนินไปอย่างมีระเบียบ และต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย
3.4 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆ มีอัตราการพัฒนาไม่สม่ำเสมอกัน
3.5 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการจะบังเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดในแต่ละวัย
3.6 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นเรื่องสหสัมพันธ์ไม่ใช่การชดเชย
3.7 ผลแห่งการเปลี่ยนแปลงในระหว่างพัฒนาการย่อมแสดงออกได้หลายทาง
3.8 เด็กแต่ละคนย่อมมีความเจริญเติบโตแตกต่างกันไป
3.9 ความเจริญเติบโตบางประการแตกต่างไปตามเพศ
3.10 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการย่อมเกี่ยวพันกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก
3.11 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการย่อมเกี่ยวพันกับความรู้สึกและอารมณ์ด้วยเสมอ
3.12 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการมิได้มีผลเพียงเพื่อปัจจุบัน แต่เป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคตด้วย
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
ในการจัดทำหลักสูตร สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ
การวิเคราะห์สภาพทางด้านสังคมที่อยู่แวดล้อมสถานศึกษา หรือในสถานที่ที่จะนำหลักสูตรไปใช้ เพราะสังคม
จะเป็นส่วนหนึ่งเป็นหล่อหลอมพฤติกรรม
ความคิด และบุคลิกภาพของผู้เรียน
ไม่ว่าจะเป็นสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน
มีสถานที่ใดอยู่ติด และล้อมรอบโรงเรียนบ้าง เช่น โรงเรียนมีพื้นที่ติดกับทุ่งนา โรงงาน หรือตลาด ก็จะทำให้มองภาพได้ชัดเจนว่า เมื่อผู้เรียนจบไป สิ่งที่เขาคิดเป็นอันดับแรก
ก็คือสิ่งที่เขาเจอทุกๆ วัน
หรือแม้แต่แหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง เช่น
โรงเรียนอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย
เป็นต้น นอกจากนี้ การศึกษาสภาพสังคม จะทำให้จัดการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น เพราะผู้เรียนจะรู้สึกว่า
ตนได้นำความรู้ที่เรียนไปปรับใช้ได้มากกว่าการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะกับสภาพสังคม