เนื้อหาหลักสูตร
หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject – Centered)
|
|||
หลักสูตร
|
ลักษณะของหลักสูตร
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
หลักสูตรแบบรายวิชา
(subject design)
|
เป็นหลักสูตรที่เก่าแก่ และนิยมมากที่สุด จัดโครงสร้างหลักสูตรเป็นรายวิชา เช่น
วิชาประวัติศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย
เป็นต้น
|
สามารถกำหนดขอบเขตเนื้อหาในรายวิชานั้นได้อย่างชัดเจน
ครูมีความคุ้นเคยกับหลักสูตรนี้ จึงสามารถสอนในรายวิชาที่ตนมีความชำนาญ การบริหารจัดการหลักสูตรทำได้สะดวกไม่ยุ่งยาก
ตลอดจนผู้เรียนได้ความรู้อย่างสมบูรณ์
|
โอกาสที่ผู้เรียนจะใช้ประสบการณ์ของตนเองในการเรียนจึงเกิดขึ้นน้อย
ผู้สอนมุ่งถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเพียงอย่างเดียว
|
หลักสูตรแบบสาขาวิชา
(discipline
design)
|
การออกแบบหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรรายวิชา
แต่จะแตกต่างกันที่หลักสูตรแบบสาขาวิชาจะมีจุดเน้นลุ่มลึกไปในศาสตร์ของแต่ละสาขา
เช่น สาขาชีววิทยาจะเรียนเนื้อหาลุ่มลึกในศาสตร์ของชีววิทยา การเรียนการสอนจะมุ่งเน้นความคิดรวบยอด
โครงสร้างเนื้อหา และกระบวนการในศาสตร์ของชีววิทยา
|
เกิดการเรียนรู้ที่ลึกมากยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสาขาที่ตนศึกษา
|
เป็นหลักสูตรที่เอื้อต่อนักเรียนที่เก่งทางวิชาการ
ไม่ให้โอกาสนักเรียนที่มีความสามารถด้อยในทางวิชาการ
|
หลักสูตรหมวดวิชา (broad fields design)
|
นักออกแบบหลักสูตรพยายามจะแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชา โดยนำวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
มาจัดเข้าไว้ในหมวดวิชาเดียวกัน เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม
รวมอยู่ในหมวดสังคมศึกษา ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี รวมเป็นหมวดวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
|
มีความชัดเจนในเรื่องของเนื้อหา
|
-
|
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
(correlation
design)
|
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรหมวดวิชา
โดยเน้นความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชา ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี และนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการเรียนเป็นรายวิชา
ได้
|
ข้อดีของหลักสูตรแบบนี้คือ ผู้สอนมีการวางแผนการสอนรวมกัน
กิจกรรมการเรียนการสอนจัดได้กว้างขวางมากขึ้น ตัวอย่างของหลักสูตรประเภทนี้ คือ การนำเอาเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยกับวรรณคดีไทยบางตอนมาสานเนื้อหาให้ดูขนานกันไปในเวลาเดียวกัน
โดยผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงความรู้รายวิชาหนึ่งไปสู่วิชาหนึ่ง
|
หากมีการจัดเนื้อหาการสอนที่ไม่ดี
อาจทำให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ เนื้อหาในการเรียนการสอนนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
|
หลักสูตรเน้นกระบวนการ
(process design)
|
เป็นหลักสูตรที่เน้นกระบวนการ หรือทักษะกระบวนการ
นักออกแบบหลักสูตรมีความเชื่อว่า การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำกระบวนการนั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเขาได้
ตัวอย่างของหลักสูตร เช่น หลักสูตรการคิดของ เบเยอร์ (Beyer อ้างถึงใน
Ornstein.1993 : 247) ได้แบ่งกลยุทธ์การคิดเป็น 3 วิธีคือ การคิดแก้ปัญหา (problem solving) การตัดสินใจ
(decision making) และการสร้างแนวคิด(conceptualizing) หลักสูตรการคิด (thinking curriculum)
|
ผู้เรียนสามารถนำกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
|
ครูต้องเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ หากผู้เรียนมิใช่ Active Learner การเรียนการสอน
จะดำเนินไปได้ยาก
|
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child – Centered)
|
|||
หลักสูตร
|
ลักษณะของหลักสูตร
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child – centered designs)
|
การจัดเนื้อหาของหลักสูตรแบบนี้ จะมีการบูรณาการเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ
เข้าด้วยกัน โดยเน้นไปที่ประสบการณ์ หรือปัญหาสังคม ความจำเป็นของชีวิต ทักษะชีวิต
การปรับตัว และประสบการณ์ตรงของผู้เรียน
|
ข้อดีของหลักสูตรนี้ คือ มีการผสมผสานกันระหว่างการเรียนรู้กับเนื้อหา
สิ่งที่เรียนมีความสัมพันธ์กับปัญหาชีวิต และความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์
และใช้กระบวนการแก้ปัญหาของตนเอง ส่วน
|
ข้อจำกัด คือ การจัดหลักสูตรที่ยึดความสนใจ ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง จะไม่สามารถรับประกันได้ว่า
ความต้องการของผู้เรียนจะเป็นไปตามที่สังคมต้องการหรือไม่ และเป็นความยุ่งยากของสถานศึกษาที่จะจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียน
ทุกคน
|
หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (experience – centered designs)
|
เป็นหลักสูตรที่มีลักษณะคล้ายหลักสูตรเน้นกระบวนการ พัฒนามาจากแนวคิดของ
จอห์น ดิวอี้ ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติของผู้เรียน กิจกรรมและประสบการณ์ต่าง
ๆ ควรจัดขึ้นตามความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การเรียนรู้และประสบการณ์อื่น ๆ
|
ข้อดีของหลักสูตรนี้คือ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
|
-
|
หลักสูตรแบบจิตนิยม (romantic
/radical designs)
|
เป็นหลักสูตรที่เน้นความเป็นธรรมชาติของผู้เรียน ให้ความสำคัญของบุคคลแต่ละคนว่าทุกคนมีอิสระในการเลือก
สามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ เน้นความมีเสรีภาพอันสมบูรณ์และความเป็นเอกัตบุคคลของแต่ละคน
|
ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัว ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ กล้ายอมรับ
ในสิ่งที่ตนทำ ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ การเรียนการสอนเน้นผู้เรียนให้รู้จักปัญหา
และได้ฝึกฝนให้ทำในสิ่งที่ต้องออกไปเผชิญในชีวิตจริง
|
-
|
หลักสูตรมนุษยนิยม
(humanistic
designs)
|
ได้รับแนวคิดของปรัชญาการศึกษาแบบอัตถิภาวะนิยม (existentialism) หลักสูตรเน้นด้านจิตใจ
ความเป็น เอกัตบุคคล การพัฒนามโนทัศน์ของตนเอง
การรู้จักตนเอง การควบคุมการเรียนรู้และพฤติกรรมด้วยตนเอง การรู้จักเห็นใจผู้อื่น
นับถือตนเองและผู้อื่น เน้นการพัฒนาจิตพิสัย ควบคู่ไปกับพุทธิพิสัย หลักสูตรจะเพิ่มทางเลือกให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเลือก
ยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวม
|
ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองรอบด้าน ทั้งการเรียนรู้ของตนเอง และสังคม
|
ข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบนี้ คือ การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นครูที่มีทักษะ
มีความสามารถที่จะทำงานกับผู้เรียน เป็นรายบุคคล
|
หลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ (Problem – Centered)
|
|||
หลักสูตร
|
ลักษณะของหลักสูตร
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (life – situations designs)
|
เป็นหลักสูตรที่เน้นภาระหน้าที่ ชีวิตในสังคม
และสถานการณ์ของชีวิตในสังคมเป็นหลัก หลักสูตรที่ศึกษาจะมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยให้สัมพันธ์กับชีวิตจริง
ปัญหาที่ผู้เรียนพบที่โรงเรียน จะมีความคล้ายคลึงกับปัญหาที่พบนอกโรงเรียน ตัวอย่างของหลักสูตรแบบนี้
ได้แก่ หลักสูตรของเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ในปี ค.ศ.
1918 ลักษณะของหลักสูตรเน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
|
การเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหา
มีการบูรณาการเนื้อหาและกระบวนการแก้ปัญหาเข้าด้วยกัน มีผู้วิจารณ์หลักสูตรนี้ว่าผู้เรียนอาจขาดความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหาสาระ
แต่ผู้สนับสนุนหลักสูตรนี้โต้แย้งว่าเนื้อหาได้ถูกนำเสนอไปแล้วในรูปแบบของปัญหา
|
ความยากลำบากในการจัดขอบข่ายเนื้อหาและลำดับ
การเรียนรู้ การตัดสินใจว่าปัญหาที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน จะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัญหาในอนาคตหรือไม่
|
หลักสูตรแกน (core designs)
|
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
หลักสูตรเน้นภาระหน้าที่ในสังคม (social function) เป็นการออกแบบหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชา
ใช้หลักการจัดหลักสูตร 2 แนวทาง คือ ใช้เนื้อหาเป็นแกน
(subject matter core design)โดยรวบรวมเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน เอาวิชาอื่นมาสมพันธ์ หรือใช้ขอบเขตของการดำรงชีวิตเป็นแกน
(area of living core design) โดยดึงเอา ความต้องการ และปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของผู้เรียนมาเป็นแกนของหลักสูตรโดยเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหา
|
-
|
-
|
หลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม (social problems and reconstructionist
designs)
|
เป็นหลักสูตรที่เน้นปัญหาของสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนการวางแผนเพื่ออนาคต หลักสูตรจะต้องสะท้อนการพัฒนาสังคมในด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองการปกครอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์ภาวะวิกฤติของชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น
ระดับชาติและระดับนานาชาติ
|
-
|
-
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น