ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory)
การเรียนรู้(Learning Ecology) คือ กระบวนการที่ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางความคิด
มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ได้จาก การได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การเห็น
รวมถึงผ่านการใช้ สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นส่วนส่งผ่าน
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning
theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรณา
/ อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์
ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้
และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ
หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้
ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ
ในเรื่องของการเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของคำว่าการเรียนรู้ไว้หลากหลาย นักการศึกษาต่างมีแนวคิด โดยนำมาจากพัฒนาการของมนุษย์ ในแง่มุมต่างๆ เกิดเป็นทฤษฎีที่แตกต่างกันไป อาทิ
การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ (Klein 1991:2)
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ (ประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม)
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด (สุรางค์ โค้วตระกูล: 2539)
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมนั้นอาจจะคงอยู่ระยะหนึ่ง หรือตลอดไปก็ได้
ในเรื่องของการเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของคำว่าการเรียนรู้ไว้หลากหลาย นักการศึกษาต่างมีแนวคิด โดยนำมาจากพัฒนาการของมนุษย์ ในแง่มุมต่างๆ เกิดเป็นทฤษฎีที่แตกต่างกันไป อาทิ
การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ (Klein 1991:2)
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ (ประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม)
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด (สุรางค์ โค้วตระกูล: 2539)
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมนั้นอาจจะคงอยู่ระยะหนึ่ง หรือตลอดไปก็ได้
โดยสรุปแล้ว การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการที่ทำให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านพฤติกรรม
และความคิด อันเกิดจากการค้นหาสิ่งใหม่ๆ
ด้วยตนเอง เช่น จากการอ่าน สัมผัสการซักถาม การใช้เทคโนโลยี การฟัง การปฏิบัติ
เป็นต้น หรือด้วยการต่อยอดความรู้จากสิ่งที่ตนมี
หรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
มีการสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ
มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร
ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ประกอบด้วย
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theories): รู้จักทั่วไปในทฤษฎี S-R ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากพฤติกรรมที่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้น
ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theories): เป็นกลุ่มที่อาศัยการใช้เหตุผล เป็นเครื่องมือในการอธิบายปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา
และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้ว
เพื่อจะได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย
1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism Theory): ในกลุ่มนี้จะเน้นความเป็นคนของคน เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความดี และมีอิสระที่สามารถนำตนเอง พึ่งตนเอง
และทำประโยชน์ในสังคม
ดังนั้นการจัดการเรียนคือ การสอนที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ
และผู้สอนจำเป็นต้องกระตุ้นและจัดบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน
1.4 ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory): เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
เชื่อว่าโครงสร้างทางปัญญาเป็นผลของความพยายามทางความคิด (Mental effort) ดังนั้น
ผู้เรียนจะได้รับการกระตุ้นให้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยภายใน (ปัญญานิยม)
และปัจจัยภายนอก (พฤติกรรมนิยม)
ผู้เรียนต้องมีคุณธรรมและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom
(Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น
6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehension)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม
เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ
Bloom (Bloom's Taxonomy)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
1.
พฤติกรรม ควรเป็นพฤติกรรมที่ชี้ชัด และสามารถสังเกตได้
2.
เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3.
มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวมความต่อเนื่อง (continuity)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง ประกอบด้วย
ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง ประกอบด้วย
1.
การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2.
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3.
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4.
ความสามารถในการจำ (Retention
Phase)
5.
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6.
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7.
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8.
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว
จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ
1.
ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
2.
สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3.
การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่
1.
เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ
กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
2.
ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน
การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
3.
บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์
ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
4.
กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน
เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน
โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
5.
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ
ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
6.
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ
เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
7.
การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม
เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง
เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
8.
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
9.
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
10.
การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ
ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น