วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาหลักสูตรรูปแบบ SU Model

การพัฒนาหลักสูตรรูปแบบ SU Model



                ในศตวรรษที่ 21   เป็นยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน สิ่งที่หลายคนมักมองข้ามสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ นั่นคือ การศึกษา  การศึกษาจึงนับเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  ดังนั้น  จึงมีความจำเป็นต้องมีการวางแผน  จัดทำหลักสูตรอันจะเป็นแนวทางในการนำไปสู่ความสำเร็จ และเป้าหมายทางการศึกษาที่ได้ตั้งขึ้น
แล้วการพัฒนาหลักสูตร  ก่อนที่จะจัดทำหลักสูตรนั้นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ถ่องแท้เสียก่อน

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม (Social Foundation of Curriculum)







พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม
(Social Foundation of Curriculum)

ประเด็น
Essentialism
Parennialism
Reconstructionism
Existentialism
สัจจะ
กฎธรรมชาติ กฎศีลธรรม จรรยา และมรดกวิทยาการ
แบบ + สสาร = ความจริง
ประสบการณ์ มวลมนุษยชาติ ทั้งระดับชาติและระดับโลก
การดำรงอยู่ของมนุษย์คือความจริง มนุษย์ต้องค้นหาตนเองให้พบ
มนุษย์
เกิดมาพร้อมความเลว
เกิดมาเป็นสสาร  แต่มีแบบพิเศษคือคิดเป็น
เกิดมาพร้อมความสามารถ  จะเป็นอะไรก็ได้  ขึ้นอยู่กับกระบวนการสังคมประกิต
เป็นผลผลิตของสิ่งที่ตนเลือกตัดสินใจกระทำ  มีเสรีภาพเต็มที่
แหล่งความรู้
ได้มาด้วยวิธีใช้เหตุและผล
การใช้เหตุผลเชิงตรรกวิทยา  ตำรา “อมตะวิทยา”
ประสบการณ์โดยตรงและประสบการณ์คาดคะเน
ขึ้นกับการเลือกของแต่ละคน
จุดมุ่งหมายการศึกษา
ถ่ายทอดมรดก วัฒนธรรม และพัฒนา วิทยา จรรยา ปัญญา
อนุรักษ์ความดีงาม ภูมิปัญญาของบรรพชน มุ่งศาสนา
สร้างสังคมประชาธิปไตยในอุดมคติ
พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้จดใช้เสรีภาพด้วยแบบรับผิดชอบ
หลักสูตร
วิชาสามัญ เช่น ภาษา เลขคณิต วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์
อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และศิลปศาสตร์
ประถมศึกษา ความรู้พื้นฐาน มัธยมศึกษา ความสำคัญของการร่วมมือทำให้สังคมดีขึ้น
อุดมศึกษา ผู้นำแก้ไข ปรับปรุงสังคม
-
วิธีสอน
บรรยายเพื่อถ่ายทอดข้อเท็จจริง  อภิปรายเพื่อความกระจ่างและฝึกให้คิด
เน้นการใช้เหตุผลเชิงตรรกวิทยา  ขยันหมั่นเพียร และฝึกฝนวิทยาการ
วิเคราะห์ปัญหาทางสังคม ฝึกใช้วิธีแก้ที่วางแผนไว้อย่างดี
วิเคราะห์ความรู้สึกของตนเอง  ประเมิน และตัดสินใจจากผลการเลือกของตนเอง
นักเรียนในอุดมคติ
มีเหตุผล มีความรู้ และทักษะที่เป็นแก่นสำคัญของวิชาสามัญต่างๆ
ใช้เหตุผลตามหลักการจิตใจสูงกว่าสภาพตามธรรมชาติเยี่ยงสัตว์โลก
ต่อต้านสังคม ต้องการเปลี่ยนสังคมไปในทางที่ดีและสร้างสรรค์
แสวงหาความหมายของการดำรงอยู่ของตน  รู้จักใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบ
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
1.      ทฤษฎีการเรียนรู้จิตวิทยา
            ความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยานั้น เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นที่ต้องได้รับการวิเคราะห์  และนำไปใช้อย่างถูกต้อง  โดยเฉพาะในแง่ของผู้เรียน (Learner) ซึ่งจะทำให้รู้ว่า เด็กแต่ละวัย มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเป็นไปในทิศทางใด  สิ่งที่มีอิทธิผลต่อการเรียนรู้  ความสนใจในการเรียนรู้เป็นอย่างไรผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีความเหมาะสม   ถือได้ว่า ในการพัฒนาหลักสูตร  ความรู้ด้านจิตวิทยานั้นจะมองข้ามไม่ได้  สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้จิตวิทยานั้นแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theories) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism Theory) และ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory)
2.      องค์ประกอบของการพัฒนาการของมนุษย์
2.1  วุฒิภาวะ (Maturity): เป็นกระวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายที่ทำให้เกิดความพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้น  โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ใดๆ หรือเป็นไปโดยธรรมชาติ  เช่น การเริ่มพูดของเด็กเล็กๆ เป็นต้น  มีการพัฒนาไปตามลำดับ
2.2  การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์  การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นด้วยการจงใจ หรือไม่ตั้งใจ  เช่น  การคิดคำนวณเป็นการเรียนรู้แบบจงใจ  และการเล่นฟุตบอลทำให้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกัน  ทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องความสามัคคีซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบไม่ได้ตั้งใจ
3.      กฎของความเจริญเติบโตและพัฒนาการ (Principles of Growth and Development)
3.1 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
3.2 พัฒนาการเริ่มต้นจากการตอบสนองทั่วๆ ไปก่อนการตอบสนองเฉพาะ
3.3 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการดำเนินไปอย่างมีระเบียบ  และต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย
3.4 ความเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆ มีอัตราการพัฒนาไม่สม่ำเสมอกัน
3.5  ความเจริญเติบโตและพัฒนาการจะบังเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดในแต่ละวัย
3.6  ความเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นเรื่องสหสัมพันธ์ไม่ใช่การชดเชย
3.7   ผลแห่งการเปลี่ยนแปลงในระหว่างพัฒนาการย่อมแสดงออกได้หลายทาง
3.8   เด็กแต่ละคนย่อมมีความเจริญเติบโตแตกต่างกันไป
3.9     ความเจริญเติบโตบางประการแตกต่างไปตามเพศ
3.10    ความเจริญเติบโตและพัฒนาการย่อมเกี่ยวพันกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก
3.11    ความเจริญเติบโตและพัฒนาการย่อมเกี่ยวพันกับความรู้สึกและอารมณ์ด้วยเสมอ
3.12       ความเจริญเติบโตและพัฒนาการมิได้มีผลเพียงเพื่อปัจจุบัน  แต่เป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคตด้วย
       
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
            ในการจัดทำหลักสูตร  สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ การวิเคราะห์สภาพทางด้านสังคมที่อยู่แวดล้อมสถานศึกษา  หรือในสถานที่ที่จะนำหลักสูตรไปใช้  เพราะสังคม จะเป็นส่วนหนึ่งเป็นหล่อหลอมพฤติกรรม  ความคิด และบุคลิกภาพของผู้เรียน  ไม่ว่าจะเป็นสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน  มีสถานที่ใดอยู่ติด และล้อมรอบโรงเรียนบ้าง  เช่น โรงเรียนมีพื้นที่ติดกับทุ่งนา  โรงงาน หรือตลาด  ก็จะทำให้มองภาพได้ชัดเจนว่า  เมื่อผู้เรียนจบไป สิ่งที่เขาคิดเป็นอันดับแรก ก็คือสิ่งที่เขาเจอทุกๆ วัน  หรือแม้แต่แหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง เช่น โรงเรียนอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย  เป็นต้น  นอกจากนี้  การศึกษาสภาพสังคม  จะทำให้จัดการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น  เพราะผู้เรียนจะรู้สึกว่า ตนได้นำความรู้ที่เรียนไปปรับใช้ได้มากกว่าการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะกับสภาพสังคม



การประเมิน


การประเมิน
            ขั้นตอนการประเมินนี้ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะจะทำให้ทราบว่า  สิ่งที่ได้ทำหรือดำเนินการมาทั้งหมดเกิดผลดีมากน้อยเพียงใด  เพื่อที่จะหาแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น
หลักการประเมิน ความหมายโดยสรุป

การประเมิน
ความหมาย
Formative Evaluation
การประเมินระหว่างเรียน หรือ การประเมินย่อย โดยการ
ประเมินระหว่างเรียนสามารถทำได้ตลอดเวลา จุดมุ่งหมายเพื่อ
ปรับปรุง หรือแก้ไขการเรียนการสอนระหว่างเรียนเพื่อให้
นักเรียนบรรลุหน่วยการเรียนใด ๆ หรือจุดประสงค์ของเรื่องนั้น
ๆ ทั้งนี้อาจจะทำโดยการสอนซ่อมเสริม

Summative Evaluation
ผลจากการประเมินประเภทนี้ใช้ในการตัดสินผลการจัดการเรียน
การสอน หรือตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดควรจะได้รับระดับ
คะแนนใด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินผลการเรียน

Authentic Assessment
การประเมินสภาพจริง เป็นการประเมินจากการวัดโดยให้
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงในสถานการณ์จริง

Authentic Assessment ด้วย Rubric

ประเมินตามสภาพจริง เป็นการตัดสินคุณค่าโดยมนุษย์ผ่านการ
สังเกต แฟ้มสะสมผลงาน การปฏิบัติงาน การให้คะแนนจึง
แตกต่างจากการสอบด้วยแบบสอบมาตรฐาน







แผนภาพแสดงขั้นตอนการประเมินหลักสูตร

ข้อมูลเพิ่มเติม http://203.130.135.244/file/Formative_Summative.pdf

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy
SOLO Taxonomy คือ การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน   ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอน  และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น   แต่ SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือ  ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขั้น  SOLO Taxonomy ได้รับการเสนอโดยJohn B. Biggs และ K. Collis






1.      Prestructural (ระดับโครงสร้างนามธรรมขั้นพื้นฐาน): ผู้เรียนไม่เข้าใจจุดประสงค์และมีวิธีการเรียนที่ง่ายเกินไป  จึงทำให้ความเข้าใจเกิดพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.      Unistructural (ระดับมุมมองเดียว): การตอบสนองของผู้เรียนมุ่งเน้นเพียงด้านเดียว  เช่นระบุชื่อ ทำตามง่ายๆ และจำ
3.      Multistructural (ระดับหลายมุมมอง): การตอบสนองของผู้เรียนมุ่งเน้นในหลายด้าน โดยผู้เรียนจะเติมแต่งการเรียนรู้เหล่านั้นด้วยตนเอง  เช่น เชื่อมโยง อธิบาย และยกตัวอย่างการประเมินในระดับนี้จะยึดการประเมินเชิงปริมาณเป็นหลัก 
4.      Relational (ระดับเน้นความสัมพันธ์): ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ นำไปใช้ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง อธิบายเชิงเหตุผล และแสดงความสัมพันธ์
5.      Extended Abstract (ระดับขยายนามธรรม): ผู้เรียนสามารถนำความรู้ก่อนหน้ามาสร้างสรรค์ สรุปอ้างอิง ตั้งสมมติฐาน สะท้อนความรู้ความสามารถ และสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา